วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์

ปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยรัฐบาลไทยได้ขยายเวลาโครงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ออกไปอีก 3 ปี (พ.ศ.2555-2557) โดยกำหนดเป้าหมายในปี พ.ศ.2555 ให้สามารถเพิ่มอัตราการสวมหมวกนิรภัย อย่างน้อยร้อยละ 20 โดยให้หน่วยงานภาคราชการองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดมาตรการเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย ดังนี้ 1. ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งกำหนดให้บริเวณสถานที่ราชการเป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ในการขับขี่รถจักรยานยนต์ 2. ให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งถือปฏิบัติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2546 ซึ่งกำหนดมาตรการปฏิบัติตามกฎหมายนโยบายความปลอดภัยทางถนนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้แล้ว โดยให้แจ้งกำชับให้ความปลอดภัยทางถนน เรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายและให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป 3. เพื่อเป็นการลดความสูญเสียในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ให้กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือสถานประกอบการในการส่งเสริมให้พนักงานสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งในการขับขี่รถจักรยายนต์ 3.2 ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมให้สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนจัดให้มีมาตรการในการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของบุคลากรในสังกัด นักเรียน และนักศึกษา 3.3 ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการรณรงค์ส่งเสริมการสวมนิรภัยในสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. ให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทบทวนมาตรฐานหมวกนิรภัยให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 5. ให้กระทรวงสาธารณสุข จัดเก็บข้อมูลสถิติการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่เกี่ยวข้องกับการไม่สวมหมวกนิรภัย 6. ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนจัดให้มีกิจกรรมสนับสนุนโครงการปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้ด้านการสวมหมวกนิรภัย การบังคับใช้กฎหมาย การผลิตหมวกนิรภัยและการออกแบบหมวกนิรภัย และการติดตาม/ประเมินผล

หลักพื้นฐานในการขับขี่ปลอดภัย 10 ประการ

หลักพื้นฐานในการขับขี่ปลอดภัย 10 ประการ 1. สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งเวลาขับขี่รถจักรยานยนต์ 2. หมั่นตรวจระบบเบรก ยาง และระบบส่องสว่างให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3. มองดูด้านหลังและให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนช่องทาง 4. สัญญาณจราจรที่สำคัญและควรจดจำ 5. อย่าขับขี่รถจักรยานยนต์ สวนทางหรือข้ามช่องทางวิ่ง 6. โปรดระมัดระวัง และลดความเร็วทุกครั้ง เมื่อพบกับสภาพถนนที่ขรุขระ เป็นหลุมทรายที่ถนนเปียกลื่น 7. อย่าขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด 8. ห้ามเสพหรือดื่มของมึนเมาขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ 9. การขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านบริเวณสี่แยก ควรหยุดรถหรือชะลอความเร็วของรถ 10. การขับขี่รถจักรยานยนต์บนถนนที่ไม่มีไฟส่องสว่าง ควรขับโดยใช้ความเร็วต่ำกว่าเวลากลางวัน