โครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
1. โครงงาน                           
                เว็บบล็อก เรื่อง ขับขี่อย่างปลอดภัยในโรงเรียนของเรา

2. ชื่อผู้เสนอโครงงาน
                2.1 นายณัฐพนธ์                   สกลพรวศิน           เลขที่  1
                2.2 นายณัชพล                      พวงสุวรรณ          เลขที่   5
                2.3 นายวงศธร                      แสงอุบล               เลขที่   12
                2.4 นายชัยวัฒน์                    ทักขินันท์              เลขที่  14

3. ครูที่ปรึกษาโครงงาน       
                คุณครูโสภิตา         สังฆะโณ                และ         คุณครูเชษฐา         เถาวัลย์

4. หลักการและเหตุผล
                การขับรถอย่างถูกวิธี
          การขับรถอย่างถูกวิธีจะมีส่วนช่วยให้เรา สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงาน ลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง หากเราปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ 
          1. ไม่ควรเร่งเครื่องก่อนออกรถ
          การเร่งเครื่องให้มีความเร็วรอบสูง จะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น โดยไม่จำเป็น เพราะเมื่อเครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูง อัตราความต้องการน้ำมัน เชื้อเพลิงจะสูงตามด้วย เมื่อออกรถเราไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องยนต์ โดยทั่วไปความเร้วรอบที่เหมาะสม สำหรับการออกรถประมาณ 1100-1250 รอบต่อนาที 


          2. ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดรถคอย
กรณีที่จอดรถคอยเป็นเวลานาน ควรดับเครื่องยนต์เพราะจะทำให้ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเปล่าประโยชน์ การติดเครื่องจอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์ 0.3 ลิตร 
3. ขับรถที่ความเร็วเหมาะสม
     การขับรถด้วยความเร็วสูง จะต้องใช้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงตาม ดังนั้นเราควรควบคุม ความเร็วในอัตราที่เหมาะสม คือ ประมาณ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง หากขับที่ความเร็ว 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
4. การใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบ
          ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำ(เกียร์ 1,2) ที่ความเร็วรอบสูง หรือ ใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4,5) ที่ความเร็วรอบต่ำ จะมีผลทำให้กำลังเครื่องตก และจะสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ 
5. การเปิดเครื่องปรับอากาศ
          ในการเปิดเครื่องปรับอากาศ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 25 ดังนั้นถ้าหากเราใช้เครื่องปรับอากาศตามความจำเป็น และไม่ปรับให้เย็นมากเกินไป จะสามารถลดการสิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างมาก 
6. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป
            กรณีที่เราบรรทุกน้ำหนักเกินเพียง 50 กิโลกรัม จะมีผลทำให้ระยะทางที่วิ่งได้ต่อน้ำมัน 1 ลิตร สั้นลง 1 กิโลเมตร ดังนั้นจึงควรสำรวจในรถหากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นควรนำออก 
7. เติมลมยางให้เหมาะสม
ตรวจเช็คและเติมลมยาง ให้เหมาะสมกับขนาดของรถยนต์ หากลมยางแข้งเกินไป จะทำให้ยางแตก และขับขี่ไม่นุ่มนวล ในขณะเดียวกันถ้าลมยางอ่อนเกินไป จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง มากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรเติมลมยางตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จากผู้ผลิต หากความดันลมยางต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกๆ 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จะทำให้สิ้นเปลือง น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 
8. ตรวจเช็ครถยนต์ตามระยะเวลาที่กำหนด
          การตรวจเช็ครถยนต์ตามเวลาที่กำหนด เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ไม่ให้สึกหรอ และสามารถใช้งานต่อได้อย่างปลอดภัย และไม่เปลืองน้ำมัน 

9. การตกแต่งรถ
          การตกแต่งรถบางอย่าง เช่น การขยายหน้ายางล้อ ให้ใหญ่กว่ามาตรฐานเดิม จะเป็นการเพิ่มพื้นที่การรับน้ำหนักของรถ เมื่อต้องเพิ่มอัตราเร่ง จะทำให้เครื่องยนต์ ใช้ความเร็วรอบสูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย 
การขับขี่อย่างปลอดภัย
คุณอาจจะขับรถทุกวันและคิดว่าขับขี่อย่างปลอดภัย แต่ลองคิดดูแต่ละครั้งที่อยู่หลังพวงมาลัย คุณต้องทำงานหลายส่วน โดยต้องแบ่งแยกหน้าที่ต่างๆ คุณต้องผสานการทำงานของมือ, เท้า, ตา, หู และการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในขณะเดียวกัน ก็ต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะตอบสนองต่อการเห็น, ได้ยินและรู้สึกจากรถคันอื่นๆ ,สัญญาณไฟ, ลักษณะถนนและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ของคุณ
การตัดสินใจอย่างปัจจุบันทันด่วน ด้วยการเบรค การเปลี่ยนเกียร์ การเปลี่ยนเลน หรือทุกอย่างรวมกัน เพื่อที่จะบังคับรถให้ได้ เมื่อคุณขับรถด้วยความเร็วสูง และอยู่ใกล้กับรถคันอื่นซึ่งก็ใช้ความเร็วสูงเช่นกัน จะเกิดขึ้นราวๆ 20 ครั้ง ในทุกไมล์ในการขับขี่ ในช่วงเวลาที่น้อยกว่า 1.5 วินาที่ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเฉี่ยวชนกับรถคันอื่นๆ หรือกับทางเท้า
หากคิดอย่างนั้นแล้ว คุณอาจจะไม่อยากขับรถอีกเลย แต่เดี๋ยวก่อน ทำตามคำแนะนำด้านล่างนี้ และใช้ความรู้สึกและการตัดสินในที่ดีเยี่ยม คุณจะเป็นผู้ที่ขับรถปลอดภัยคนหนึ่งบนท้องถนน
พักผ่อนให้เพียงพอ และขับขี่ด้วยความตื่นตัวตลอดเวลา
พักผ่อนให้เพียงพอก่อนขับรถ
วางแผนในการขับขี่
หลีกเลี่ยงการใช้ถนน ระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า
หาเพื่อนนั่งไปด้วย และสลับกันขับ ถ้าเป็นไปได้
วางแผนในการหยุดพักทุกๆ 2 ชม. หรือทุกๆ 160 กิโลเมตร
ถ้าคุณรู้สึกว่ามองไม่ค่อยชัด, รู้สึกหนักหัว หรือคิดไม่ค่อยออก หาที่จอดรถข้างทาง และลองหลับตาสักครู่
ใช้ความระมัดระวัง เมื่อต้องแซงรถคันอื่น
ถ้ารถที่คุณพยายามจะแซงเร่งเครื่องหนี ปล่อยเขาไป อย่าไปเร่งเครื่องตาม
อย่าเสี่ยง หากมีปัญหาอย่าเข้าไป

เว้นระยะห่างในการขับขี่
กฎที่สำคัญที่สุด ในการขับขี่อย่างปลอดภัยคือการเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า เมื่อรถมีความเร็ว ทุกๆ 10 ไมล์/ชม. ให้เว้นระยะห่างประมาณรถหนึ่งคัน อย่างเช่น ถ้าขับรถด้วยความเร็ว 40 ไมล์/ชม. ให้เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าเท่ากับรถ 4 คัน การรักษาระยะห่างดังนี้ จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
ถ้าคุณไม่สามารถมองเห็นข้างหน้าของรถที่อยู่หน้าคุณ ให้เพิ่มระยะห่างให้มากขึ้น เพราะรถคันหน้าอาจจะเปลี่ยนเลนโดยไม่ได้ลดความเร็วหรือหยุดรถ ทำให้คุณตกอยู่ในอันตรายได้ ถ้าคุณต้องหยุดรถ ให้ชิดซ้ายและใช้ไฟฉุกเฉิน
พยายามที่จอดรถชิดซ้าย หรือไหล่ทาง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักได้
ถ้าต้องจอดรถบนไหล่ทาง ให้เปิดไปฉุกเฉิน ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ในตอนกลางคืนอาจจะมีรถบางคันที่ตามมาบนไหล่ทาง เพราะคิดว่าคุณกำลังวิ่งอยู่
หากมีเหตุฉุกเฉินทำให้คุณต้องหยุดและจอดรถบนถนน ให้เปิดไฟฉุกเฉินทันที
ใส่ป้ายบอกเหตุสามเหลี่ยมกับรถด้วย เพื่อที่จะใช้ได้ตอนกลางคืน มันจะช่วยไม่ไห้รถถูกชนได้
เพิ่มความระมัดระวังเมื่อทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ดี
ใช้ความเร็วที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระยะทางและความเร็วที่ลดลงจะสามารถทำให้หยุดรถได้อย่างปลอดภัยไม่ถูกรถคันหลังชน
แตะเบรคเบาๆ และหยุดโดยไม่ส่ายไปมา
ระวังในกาเข้าโค้ง เพราะอาจจะไถลไปอีกเลน หรือออกจากถนน
ขับให้ช้าลงหรือจอด เมื่อทัศนวิสัยไม่ดี
ขับรถด้วยความเร็วในระดับที่ปลอดภัย ดูแลให้รถยนต์สะอาด โดยเฉพาะไฟหน้า, กระจก, และไฟท้าย ใช้ไฟฉุกเฉินหากจำเป็น
ก่อนขับออกจากช่องจอดให้ใช้ความระมัดระวัง ตรวจสอบทั้งรถและระวังคนเดินข้ามถนน
ขับช้าลงเพื่อหลีกเลี่ยงคนเดินเท้าที่อยู่ด้านหน้าของรถ เพราะเป็นเรื่องยากมากในการกะระยะห่างของรถที่วิ่งเข้ามาหาตัว ดังนั้นการที่คุณเร่งความเร็วขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อคนเดินเท้าได้
ในเวลากลางคืน คนข้ามถนนมักจะคิดว่า คุณมองเห็นพวกเขา เพราะเขาสามารถมองเห็นไฟจากรถคุณได้ง่าย

5. หลักการ ทฤษฏี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                5.1 เว็บบล็อก
                5.2 ความหมายของเว็บบล็อก
                5.3 สังคมบล็อก
                5.4 ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก

6. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                6.1 เพื่อจัดทำเว็บบล็อก เรื่อง ขับขี่อย่างปลอดภัยในโรงเรียนของเรา
                6.2 เพื่อศึกษาถึงวิธีการขับขี่อย่างปลอดภัย
                6.3 เพื่อศึกษาถึงวิธีการทำบล็อก เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูล

7. ขอบเขตของโครงงาน
                7.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขับขี่
                7.2 เวลาของการดำเนินการ คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
                7.3 แหล่งค้นคว้าข้อมูล คือ หนังสือคู่มือการขับขี่อย่างปลอดภัยและอินเทอร์เน็ต

8. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
                8.1 โปรแกรม  Microsoft  Word  ใช้จัดทำรูปเล่มรายงาน
                8.2 โปรแกรม PhotoScape , โปรแกรม Photoshop   ใช้ตกแต่งรูปภาพกราฟิก
                8.3 โปรแกรม movie maker ใช้ในการตัดต่อวิดีโอในการถ่ายทำ
                8.4 Google plus เช่น เว็บบล็อก , แผนที่ , ปฏิทิน

9. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
12 พฤศจิกายน 2555  - 16 พฤศจิกายน 2555

เสนอโครงร่างโครงงาน
20 พฤศจิกายน 2555  - 30 พฤศจิกายน 2555

ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
1 ธันวาคม    2555  -  10  ธันวาคม   2555

วิเคราะห์ข้อมูล
5 ธันวาคม    2555  -  12  ธันวาคม   2555

ออกแบบเว็บไซต์
13 ธันวาคม    2555  -   20  ธันวาคม   2555

พัฒนาเว็บไซต์
16 ธันวาคม    2555  -   21  ธันวาคม   2555

ทดสอบและแก้ไขระบบ
24 ธันวาคม    2555  -     6  ธันวาคม   2555

นำเสนอโครงงาน
21 มกราคม    2555  –    1 กุมภาพันธ์ 2555

ประเมินผลโครงงาน
11 กุมภาพันธ์ 2555  –    15 กุมภาพันธ์ 2555


10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ   
                10.1 ได้เว็บบล็อก เรื่อง ขับขี่อย่างปลอดภัยในโรงเรียนของเรา
                10.2 ทำให้รู้ถึงวิธีการขับขี่อย่างปลอดภัย
                10.3 ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ขับขี่อย่างปลอดภัยให้ผู้อื่นได้